นิสัยอะไรที่วัยรุ่นควรมีและสิ่งที่ควรทำก่อนมีธุรกิจของตัวเอง | พี่มิ้น อุกฤษฎ์ ตั้งสืบกุล

สารบัญเกลา - อยากเลือกอ่าน

…น้องคิดว่าคนเชื่อว่าบินได้ก่อน หรือคนบินได้ก่อนแล้วค่อยเชื่อ? ….พี่มิ้นถามทีมงาน…

“ความเชื่อ” คือตัวขับเคลื่อนคน

            “Will มันต้องสูงกว่า Skill” – มูฮัมมัด อาลี

               อย่างพี่มิ้น หรือ อุกฤษฎ์ ตั้งสืบกุล ผู้ก่อตั้ง Minted Academy ที่ไม่ได้จบอะไรที่เกี่ยวข้องอะไรกับงานธุรกิจเลย… แต่ “เชื่อ” ว่าจะต้องทำได้… และหาลู่ทางทำให้ได้ด้วย ไม่ว่าจะใช้วิธีหาต้นแบบ อาจจะเป็นคน ๆ นึงที่ประสบความสำเร็จด้านนั้น เอาเป็นแบบอย่าง …ทำให้ได้และต่อไปคือ “ต้องทำให้ดีกว่า”

            …มนุษย์เราพัฒนาได้เพราะความเชื่อ

            เชื่อว่า “ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้”… ถึงแม้จะล้มเหลวบ้าง แต่ทุกครั้งที่ล้มเหลว ก็ต้องเชื่อว่ามันเป็นแค่ส่วนนึงของการพัฒนา มันไม่ใช่ทางตัน …แต่เป็นสิ่งที่เราต้องเรียนรู้

            เรียนรู้จากอดีต

            สิ่งที่พี่มิ้นและบริษัทจะคอยทำตลอด ทุก ๆ ครั้งเพื่อพัฒนา หรือแก้ไขปัญหาของบริษัท (อย่างเช่นกำไรไม่เข้าเป้า)

  1. เรียนรู้อะไรจากปีที่แล้ว
  2. ถ้ามันดีเก็บไว้ ถ้าไม่ดีเลิกซะ (อย่าเสียดาย)
  3. ทำอะไรใหม่ ๆ กัน

ทุกคน(ในองค์กร)…ขับเคลื่อนบริษัท

            บริษัทถูกขับเคลื่อนด้วยคนที่ทำงานด้วยกัน… ดังนั้นถ้าอยากให้บริษัทเติบโต สิ่งที่ผู้บริหารทำไม่ใช่หาวิธีที่ทำเงินให้มากที่สุด… แต่เป็นวิธีที่ทำยังไงให้คนของเราพัฒนาไปในแต่ละวันให้มากที่สุด…

               ไม่ใช่รับ “ใครก็ได้”

            พี่มิ้นเปรียบการรับคนเข้าทำงานเหมือนการเลือกคู่ชีวิต… คือไม่ขอเก่ง ไม่ขอดีเลิศ แต่ขอให้เป็นคนที่มี Mindset เหมือนกัน ความเชื่อเหมือนกัน สามารถพัฒนาและทำงานไปกับทีมได้ ไม่ต้องเก่งมาก เพราะของพวกนี้มันเสริมกันได้…ถ้าเชื่อว่าทำได้

               เริ่มจาก “ศูนย์คน” ได้บทเรียนจาก “เสียคน” เละจบลงที่ “สร้างคน”

               เมื่อก่อนทั้งบริษัทมีกันอยู่แต่พี่มิ้นกับพนักงานอีกคน… แล้วเปิดรับคนแบบใครก็ได้เอามาเถอะ ขาดทุนบ้าง ลองผิดลองถูก จนกระทั่งทำงานไปได้สักพัก ถึงจะเข้าที่เข้าทาง …จนวันนึง ก็สูญเสียพนักงานคนนึงไป…พี่มิ้นเล่า

               พนักงานคนนั้นทำงานด้วยกันมา 1 ปี และกำลังทำงานใหญ่ที่ต้องใช้เวลา 6 เดือน แต่ดันรถคว่ำก่อน 3 เดือนกำหนัดส่ง… นั่นทำให้นอกจากสูญเสียคนที่มีความผูกพันแล้วยังเกิดความเสียหายกับงานด้วย …จากงาน 6 เดือนเลยต้องกลายมาเป็นงาน 3 เดือนแทน… นั่นทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของการ “รับทำงานเป็นกลุ่ม” …เช่นสมมติจะรับบัญชีก็จะรับบัญชี 3 คน …เพื่อป้องการสูญเสีย รวมถึงอาจจะมีคนดึงตัวไปด้วย

            ….”เรียนรู้ที่จะรอบคอบและป้องกันเหตุไม่คาดฝัน”

            พอเริ่มทำไปเรื่อย ๆ ก็เริ่มเรียนรู้ว่า “การสอนพนักงานเป็นสิ่งที่จำเป็น” …ขนาดลงทุนจ้างมาสอน และสอนเองกับมือเลยในบางครั้ง …เพื่อที่จะให้เขาพัฒนาได้เต็มที่ เพราะถ้าคนในบริษัทพัฒนา บริษัทก็จะพัฒนาตาม

               ไม่กลัวคนออกเหรอ?

               พี่มิ้นก็บอกว่า ก็ต้องย้อนกลับมาเรื่องของความเชื่อ

               “สังคมที่ดีเริ่มต้นที่การให้”

               ถ้าเราสอนสิ่งดี ๆ ให้เขาแล้วเขาได้ดี ถึงเขาจะออกจากบริษัทเราไป แต่ถ้าเขาได้ไปสอนสิ่ง ๆ นั้นให้กับคนอื่น ๆ แล้วคนอื่น ๆ ก็จะสอนกันต่อ ๆ ไป… ในตอนแรกเราไม่เห็นผลหรอกจนกระทั่งผ่านไปสัก 5 ปี เมื่อวันนึงที่เราเห็นว่าสิ่งดี ๆ ที่เราสอนมันแพร่กระจายจนทำให้สังคมดีขึ้น… มากกว่าสิ่งตอบแทนใด ๆ คือความรู้สึกภูมิใจที่เราได้

เปลี่ยนจากเขา “ทิ้งเรา” เป็นเขาที่ “ไม่คู่ควร” กับเราแทน

            ถ้าเกิดใครสักคนเลือกที่จะเดินจากเราไป… พี่มิ้นบอกว่ามีอยู่สองอย่าง ไม่เกิดจากเขาไม่พอใจในสิ่งที่เรามี …ไม่ก็ เรา… ที่ดูแลเขาไม่ดีพอ

               สมมติถ้าเราดูแลเขาดีแล้วแต่เขาเลือกที่จะเดินจากไปอยู่ดี…แสดงว่าเขาไม่เห็น “คุณค่า” ของเรา

               แล้วพี่มิ้นก็พูดว่า… เรามาทำให้ทุกคนที่เดินออกไป “เสียดาย” เรา …โดยการพัฒนาตัวเองจนเก่งและแกร่ง เติบโตจนให้เขาเห็นว่าเขาต่างหากที่เลือกผิด…

How to แก้ปัญหา Not Who รับผิดชอบ

               “ให้เชื่อว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมีดีเสมอ แต่ดียังไงให้หาทางออกัน”

            ถ้าเกิดปัญหาอะไรขึ้นมาการวิ่งหนีไม่ช่วยอะไร…การลาออกก็เช่นกัน ดังนั้นเวลาเกิดปัญหาอะไรขึ้นให้ช่วยกันหาทางออก รับผิดชอบไปด้วยกัน เวลาลงมือทำอะไรก็รับความเสี่ยง มีความกล้า และเติบโตไปด้วยกัน

               “ถ้าคุณเป็นผู้นำ คุณต้องสามารถออกรับได้ทั้ง ๆ ที่คุณไม่ได้ทำ ไม่งั้นเด็กก็ไม่กล้าทำ” – พี่มิ้น อุกฤษฎ์ ตั้งสืบกุล

ฝากไว้สำหรับ “เด็กรุ่นใหม่”

หนึ่ง….อย่า มอง แต่ เงิน เดือน

            ใน 5 ปีแรกของการทำงานในเก็บประสบการณ์ในการทำงานมากที่สุดเท่าที่จะทำได้… แม้มันจะต้องใช้ความอดทนและความพยายามร่วมกัน แต่สิ่งที่จะได้รับมันเป็นต้นทุนที่มหาศาลในอนาคตการทำงานข้างหน้า

               …ชีวิตจะพัฒนาได้ด้วยความมีวัยและความอดทน…

            สอง…จงหาความรู้…เติมเต็มในสิ่งที่ไม่รู้

            “ถ้าคุณไม่รู้ ว่าคุณไม่รู้…อันตรายละ แต่ถ้าคุณรู้าคุณไม่รู้ แต่ขี้เกียจเรียนรู้… อันตรายกว่า”

               สมัยนี้มีสื่อให้เรียนรู้มากมายจากอินเทอร์เน็ต อย่าได้ขี้เกียจที่จะเรียนรู้เลย การที่รู้อะไรมาก ๆ มันช่วยเราได้เยอะ โดยเฉพาะช่วยให้ปรับตัวตามโลกทัน

               สาม…อย่าโกหก

            ความจริงใจชนะทุกอย่าง…เป็นความจริงอย่างไม่ต้องสงสัย เหมือนเวลาเราตั้งใจทำอะไรดี ๆ ให้สังคมยังไงมันก็ออกมาดีอยู่แล้ว ในขณะที่ถ้าทำอะไรแย่ ๆ ต่อให้พยายามดีขนาดไหนเดี๋ยววันนึงมันก็ปูดออกมา ดังนั้นการเติบโตที่ดี ไม่ได้หากินจากความไม่รู้ของผู้คน…เพราะมันอยู่ไม่ได้นาน

ทิ้งท้าย…”ทำไมเราถึงต้องเกลาตัวเอง ก่อนเกลาคนอื่น?”

               ควบคุมตัวเองยังยากเลย…ควบคุมคนอื่นจะไปทำได้ยังไง นอกจากคนที่ถูกควบคุมจะไม่มีความสุขแล้ว คนคุมเสียเองที่จะทุกข์ไปด้วย…ถ้าเข้าใจจุดนี้เราก็จะรู้เองว่าสิ่งที่เราควบคุมได้มีแค่ “ตัวเรา” ที่จะแสดงโต้ตอบเขาเท่านั้น

               …ชีวิตที่มีความสุขคือชีวิตที่ “ควบคุมตัวเอง” ได้

            ทำไมเราไม่เกลาตัวเอง ก่อนเกลาคนอื่น?

Writer
เด็กถาปัตย์ที่ไม่ได้อยากเป็นสถาปนิก เเค่รักการออกเเบบเเละออกไอเดีย หวังว่าเรื่องราวที่ตัวเองเขียนจะช่วยจุดประกายบางอย่างให้คนที่กำลังหลงทางอยู่
Editor
'เกลานิสัยอันตราย' Hub รวมคนรักการพัฒนานิสัย และอยากขับเคลื่อนสังคมไปพร้อมกัน
Photographer
'เกลานิสัยอันตราย' Hub รวมคนรักการพัฒนานิสัย และอยากขับเคลื่อนสังคมไปพร้อมกัน
Photographer
'เกลานิสัยอันตราย' Hub รวมคนรักการพัฒนานิสัย และอยากขับเคลื่อนสังคมไปพร้อมกัน
Interviewer
'เกลานิสัยอันตราย' Hub รวมคนรักการพัฒนานิสัย และอยากขับเคลื่อนสังคมไปพร้อมกัน
Top