ห้องทำงาน = ห้องแห่งการพัฒนาตนเองจากภายในสู่ภายนอก
ห้องทำงานไม่จำเป็นต้องรก
“ห้องบ่งบอกนิสัย เพราะนิสัยทำให้เกิดห้องแบบนั้น”
ความฟุ้งซ่านก็เหมือนไอน้ำ พี่ก๊อตเล่าว่าถ้าเราปล่อยให้มันเกิดขึ้นโดยไม่ห้ามมัน มันจะขยายตัวจนทะลักออกมา ในรูปแบบของพฤติกรรม เหมือนตอนที่ห้องของเรารกแบบไม่รู้ตัว… นั่นเป็นเพราะว่าเรากำลังปล่อยให้ความฟุ้งซ่านเกิดขึ้น
…ความฟุ้งซ่านไม่เคยหายไปแต่เราลดมันได้
อาจจะเริ่มจากการจัดชั้นหนังสือให้เป็นระเบียบเป็นหมวดหมู่ นอกจากจะช่วยให้หาง่ายแล้วยังช่วยฝึกนิสัยเป็นระเบียบ…และความเป็นระเบียบจะช่วยลดความฟุ้งซ่าน ให้กลับมาคิดเป็นระบบเอง
ดังนั้นถ้าอยากให้ห้องมีระเบียบให้เริ่มจัดการที่ตัวเรา….
หนังสือที่พี่ก๊อตเลือกเข้ามาในชีวิต
ด้วยความที่เป็นนักแสดง… อาชีพที่ไม่ได้แสดงแค่บท “ตัวเรา”
พี่ก๊อตจึงต้องเรียนรู้ ศึกษา เข้าใจมนุษย์ให้มากที่สุดกว้างที่สุด …ดังนั้นหนังสือต่าง ๆ ที่พี่ก๊อตเลือกมักจะเป็นปรัชญา ศาสนาต่าง ๆ และเพื่อที่จะเข้าถึงบทบาทให้มากที่สุด พี่ก๊อตจึงต้องอ่านหนังสือให้มากที่สุดด้วย….
“อย่ารู้ลึกแต่โง่กว้าง” – อ. วรภัทร ภู่เจริญ
เป็นคำพูดที่พี่ก๊อตบอกว่าชอบมาก… มันบ่งบอกว่า การอ่านหนังสือมาก ๆ ผลพลอยได้ก็คือการที่พี่ก๊อตเข้าใจคนอื่นและเข้าใจตัวเองมากขึ้น (ทำให้พี่ก๊อตเข้าถึงตัวละครได้มากขึ้น) เพราะหนังสือหลายเล่มมีจุดประสงค์เหมือนกัน แต่การนำเสนอมุมมอง จริตของผู้เขียนต่างกัน ทำให้อารมณ์ที่สื่อออกมาต่างกัน ดังนั้นการอ่านหนังสือกหลาย ๆ แบบจึงทำให้เรามีมุมมองที่กว้าง สามารถพลิกแพลง และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ เหมือนที่พี่ก๊อตใช้ความหลากหลายที่เคยเห็นมาปรับและสร้างสรรค์คาแรกเตอร์ของตัวละคร
Q : ซื้อแต่ไม่อ่าน?
A : เพราะว่าซื้อด้วยอารมณ์..
อยากอ่านหนังสือเยอะ ๆ นะ แต่ซื้อมาแล้วไม่เคยอ่าน… ไม่ก็อ่านแต่ไม่เคยจบ… นั่นเป็นเพราะ “ซื้อเพราะอารมณ์… เป็นนิสัยเสพติด มีความสุขกับการจ่ายแล้วได้รับกลับบ้าน เป็นนิสัยอย่างนึง… ต้องยอมรับก่อนว่าตัวเองมีนิสัยแบบนี้…” – ก๊อต จิรายุ
…แต่เราไม่ได้เสียเงินไปกับอะไรที่มันแย่นี่? ทำไมไม่ลองอ่านมันอ่านให้จบจริง ๆ สักตั้งล่ะ?
วิธีอยู่กับหนังสือ 1 เล่ม
“มองหนังสือเป็นคน ๆ นึง… ที่เราต้องพยายามเข้าใจเขา”
บางเล่มอ่านวนไปเป็น 6 ปี… พี่ก๊อตเล่าพร้อมหยิบหนังสือเล่มนึงออกมา… อ่านทุกปี สรุปทุกปี จนกว่าจะเข้าใจหนังสือ… ใช้เวลากับมัน
อย่างพี่ก๊อตก็จะอ่านครั้งละ 15 นาที เพื่อที่จะได้รู้สึกว่ามันมีวันจบ และไม่ได้เครียดเกินไป… ในช่วงแรก ๆ อาจจะรู้สึกน่าเบื่อ แต่ถ้าอ่านไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวเราจะเริ่มเห็นประโยชน์ของมัน รู้สึกสนุกกับมัน แล้วเวลา 15 นาทีก็จะค่อย ๆ ยาวขึ้น ค่อย ๆ แทนที่ความเบื่อหน่าย… แล้วเราก็จะอ่านหนังสือจบเอง
…จริง ๆ หนังสือไม่ได้น่าเบื่อขนาดนั้น
Q : อ่านแล้วลืม?
A : จำไม่ได้ก็จด..
นอกจากอ่านแล้ว… อย่างพี่ก๊อตก็จดสรุปหนังสือทุกปีเพื่อที่จะทำความเข้าใจ และจดโน้ตเพื่อเตือนตัวเองตลอด จะได้ไม่ลืม
“เราจะพัฒนาตัวเองได้ก็ต่อเมื่อเราจดจำความรู้ที่เกี่ยวกับการพัฒนาได้” – ก๊อต จิรายุ
จดโน้ตให้ปัง …ทำยังไง?
1. อ่านแล้วเสริมพลัง กำลังใจ
2. No Negative No เสียดสี ประชดประชัน
3. อ่านแล้วช่วยให้จดจำ
4. “จดแล้วต้องอ่านด้วย”
เราเขียนให้ใคร?
พี่ก๊อตบอกว่าเขียนมี 2 อย่าง…. คือเขียนเพื่อตัวเอง หรือเขียนเพื่อคนคนอื่น …ก่อนที่จะเขียนให้เราชัดเจนก่อนว่าเขียนเพื่อใคร?
ถ้าเขียนเพื่อตัวเอง เขียนยังไงก็ได้เข้าใจอยู่คนเดียว… แต่ถ้าเราต้องการที่จะเขียนเพื่อคนอื่น แค่เราเข้าใจไม่พอ… เราต้องดูว่าสิ่งที่จะเขียนมีประโยชน์ต่อเขาไหม.. เพื่อที่จะสื่อออกไปให้ถูกต้อง หนังสือก็ต้องอ่านให้มาก …
หลักการเขียนของพี่ก๊อต
ไม่จริง ไม่รู้จริงไม่เขียน… ไม่จำเป็นไม่บอก… ไม่เมตตาไม่ปล่อยออกไป…
ระบายความรู้สึก ≠ ความคิดเห็นเชิงสร้างสรรค์
ระบายความรู้สึกคือการระบายความรู้ ไม่สนใจว่าใครรู้สึกยังไงฉันแค่อยากพูด ถ้าฉันรู้สึกว่ามันแย่ ก็จะพูดว่าแย่ ในขณะที่ความคิดเห็นเชิงสร้างสรรค์ คือแย่เพราะทำไม ไม่ได้ตอบเพราะอารมณ์แต่อยากช่วยให้เขาพัฒนาขึ้น…
คอมเมนต์แย่ ๆ ที่มาจากความรู้สึก…ไม่ได้ช่วยอะไรนอกจากสร้างความรู้สึกแย่ ๆ
ดังนั้นการเขียนอะไร ถ้าไม่เมตตาไม่ต้องปล่อยออกไป…
เทคนิคการวางแผนยังไงให้บรรลุเป้าหมาย สไตล์พี่ก๊อต
1. ใช้เวลากับเป้าหมาย…คิดให้ดีว่ามันคือเป้าหมายที่เราต้องการจริง ๆ หรือเปล่า
2. หากิจกรรมที่ทำให้เป้าหมายของเราเป็นจริง… อยากผอม ต้องกินแบบไหน ออกกำลังกายยังไง
3. กำหนดวันที่จะทำ ความถี่ของกิจกรรม เช่น 3 วันต่อสัปดาห์ วันละ 15 นาที
4. ทำอย่างที่วางแผนไว้อย่างเคร่งครัด
5. และสำคัญมาก…อย่าลืมที่จะตรวจดูว่าวิธีของเราเป็นยังไง… มันดีขึ้นได้อีกมั้ย …ทำไมมันถึงดีขึ้นหรือแย่ขึ้น
6. กลับไป ข้อ 2
***ที่สำคัญ …ชัดเจนในสิ่งที่ต้องการ
เพราะ “ความอยาก” คือพลังงานอันมหาศาลแสนสำคัญส่วนนึงที่จะทำให้คนเราบรรลุเป้าหมาย
เก็บเงินก็เช่นกัน…
ถ้าเราต้องการที่จะเก็บเงินจริง ๆ เราจะไม่คิดว่า “มีเงินมากค่อยเก็บ” แต่เราจะคิดว่า “มีเงินน้อยเก็บยังไงให้เยอะ”
…ถ้าเรา “อยากที่จะเก็บ” ….อย่างพี่ก๊อตก็ใช้วิธีแบ่งบัญชีตามจุดประสงค์ ออกเป็น 6 ส่วน คือ ยามจำเป็น(ค่าพยาบาล), ลงทุน, ออมระยะยาว, การศึกษา, ใช้ส่วนตัว ,ทำบุญ…
การแบ่งบัญชีตามจุดประสงค์จะช่วยให้เราเก็บการเคลื่อนไหวของเงินเข้าออกที่ชัดเจนขึ้น ทำให้เราสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ตรงจุด ดีกว่าออมเงินเป็นก้อนเดียวเวลาใช้ไปก็ไม่รู้ว่าเราเสียเงินไปกับส่วนไหนเป็นพิเศษ…
“และมนุษย์จะมีความมั่นใจมากขึ้นเมื่อมีทุน”
ดังนั้นคนที่ทำงานจงฟังทางนี้
“เมื่อก่อนการงานของไทย หมายถึงงานรื่นเริง เช่นสงกรานต์ ปีใหม่ แต่พ่อวัฒนธรรมตะวักตกเข้ามาก็กลายเป็นว่า…”
งาน = เงิน
“ไม่ได้ทำงานที่รัก…แต่เงินดี”
กว่าพี่จะได้ทำให้สิ่งที่ตัวเองรักก็ผ่านอะไรที่ไม่ชอบมาเยอะเหมือนกัน…พี่ก๊อตพูด ถ้ามันเป็นสิ่งที่ทำให้ดีกว่า เช่น ต้องหาเงินลงทุนถึงจะได้ทำในสิ่งที่รัก ก็เป็นอะไรที่คุ้มค่า
และที่สำคัญอย่าทำชุ่ย ๆ …
ถึงแม้จะไม่ชอบ… แต่งานทุกงานก็มีคุณค่าในตัวของมัน เป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาตัวเรา ทำให้มันเป็นงานที่เราภูมิใจในความอุตสาหะของเรา…
มากกว่าการศึกษา
เมื่อโตขึ้นเราไม่ได้เรียนรู้วิธีประสบความสำเร็จจากตำราเรียน… แต่เราจะเรียนรู้วิธีประสบความสำเร็จจากคนที่สำเร็จ…
ในวัยทำงานไม่ใช่แค่มีความรู้ก็ประสบความสำเร็จ… เวลามีจำกัดจึงต้องบริหาร เงินทุนต้องมีจึงต้องคอยเก็บและลงทุนให้มันงอกเงย หนังสือก็ต้องคอยอ่านเพื่อพัฒนาตนเอง…
“เราต้องคอยพัฒนาตัวเองตลอดเวลาจึงจะฝ่าฟันอุปสรรคได้”